วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบพระคุณคุณครูศิริพร วีระชัยรัตนา เป็นอย่างสูง
ที่ให้กลุ่มของข้าพเจ้าได้มีโอกาสจัดทำโครงงานเรื่อง ต่ำเสื่อ...ทอสาดนี้ขึ้น
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มของข้าพเจ้าเป็นอย่างมาก
กลุ่มของข้าพเจ้าได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
อย่างเสื่อที่เป็นที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันได้รู้ถึงขั้นตอน
วิธีการทอเสือ ซึ่งในอนาคตข้างหน้าอาจจะเป็นรายได้ ของกลุ่มข้าพเจ้าก้เป็นได้
จึงขอขอบพระคุณคุณครูศิริพร วีระชัยรัตนา มา ณโอกาสนี้

วิธีดำเนินงาน


1.นำมีดหรือเคียวตัดหรือเกี่ยวต้นกกมา แล้วนำมีดสอยตามยาวโดยแบ่งต้นกก 1 ต้นต่อ2-3ชิ้น ตามขนาดของต้นกกไม่ตัดบาง-หนาเกินไป



2.นำต้นกกที่สอยแล้วไปผึ่งแดดให้แห้งพอประมาณ




3.นำปอแก้วหรือปอที่ใช้สำหรับทอเสื่อสอดเข้ารูฟืมตามภาพ




4.นำต้นกกสอดเข้าระหว่างกลางของปอแก้วชั้นบนและชั้นล่างของปอแก้ว



5.จัดต้นกกที่สอดเข้าแล้วให้ตรง





6.นำฟืมมากระทบต้นกกที่จัดไว้2-3ครั้ง



7.พับขอบโดยนำกกเส้นในไขว้ทับเส้นนอกแล้วนำปลายเส้นด้านในพับออกด้านนอก




8.พับแบบข้อ 6สลับข้างซ้ายขวาไปเรื่อยๆ




9.เมื่อทอทอเกือบถึงปลายเส้นปอแก้วแล้วให้เหลือปลายเส้นปอแก้วไว้ประมาณ2.50 เซนติเมตรพอให้มัดกันได้





10.เมื่อตัดเสื่อออกจากฟืมแล้วให้นำปลายของเส้นปอแก้วมัดกันก็จะได้เสื่อไว้ใช้ตามต้องการ

ข้อเสนอแนะ

งบประมาณ 200 บาท

สถานที่จักโครงงาน โรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคม

สรุปและข้อเสนอแนะ
1.การทอเสื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ หรือบางคนทำเป็นอาชีพเสริมได้บางครอบครัวทำเป็นกจกรรมภายในครอบครัว ช่วยกันทำ ทำให้เกิดความสำพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว
2.เวลาการจัดทำไม่ค่อยมี เพราะเพื่อนในกลุ่มมีเวลาว่างไม่ตรงกัน
3.การทอเสื่อเป็นวิธีการที่น่ารู้ เพราะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะหารายได้เสรฺมได้

แหล่งค้นคว้าและเอกสารอ้างอิง
- 206 หมู่3 บ้านหนองพลอง ต.หินดาด อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา
- 50 หมู่2 บ้านไทรงาม ต.เสาเดียว อ.หนองหงส์ จ.บุรีรัมย์
- เอกสารเกี่ยวกับโครงงาน

วัสดุ-อุปกรณ์

วิธีดำเนินงาน


วัสดุ/อุปกรณ์


1.ต้นกก/ต้นไหล
2.ปอแก้ว(ปอ/เชือกที่ใช้สำหรับทอเสื่อ)
3.กรรไกร
4.มีด
5.ฟืม
6.ไม้สำหรับสอด(ขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 เมตร)


ขั้นเตรียม


-ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการทอเสื่ออย่างละเอียดและเตรียมหาความรู้เพิ่มเติมพร้อมทั้งเขียนโครงงานที่จัดทำอย่างละเอียด
-นำเสนอโครงงานให้ครูตรวจสอบ
-จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จะทำเสื่อ
-เริ่มลงมือปฏิบัติ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


เนื่องจากเสื่อเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีชื่อเสียงประเภทหนึ่งในอำเอห้วยแถลง กลุ่มข้าพเจ้าจึงปรึกษากัน และเลือกที่จะทำโครงงานเกี่ยวกับการทอเสื่อซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะได้รักษาวิถีชาวบ้านไว้สืบเนื่องไป
กลุ่มของข้าพเจ้าจึงช่วยกันศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการทอเสื่อซึ่งกล่มข้าพเจ้าได้ค้นข้อมูลจาก หมู่บ้านหนองพลอง ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา และหมู่บ้านไทรงาม ตำบลเสาเดียว อำเอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นอำเภอใกล้เคียง กับอำเภอห้วยแถลง เพื่อเปรียบเทียบวิธีการทอเสื่อ (ในภาคอีสานจะเรียกการทอว่า"ต่ำ" และเรียกเสื่อว่า "สาด" ) จึงเกิดเป็นโครงงานเรื่อง ต่ำเสื่อ...ทอสาด

โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง ต่ำเสื่อ ทอสาด

โครงงานศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง "ต่ำเสื่อ...ทอสาด"


ครูผู้สอน ครูศิริพร วีระชัยรัตนา


รหัสวิชา ง.40202
ชื่อวิชาการนำเสนองานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
โรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคม
อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

สมาชิกในกลุ่ม
1.นางสาวจุรีรัตน์ เศรษฐี ชั้น ม. 4/2 เลขที่ 23
2.นางสาวรัชนีกร ทองภูบาล ชั้น ม.4/2 เลขที่29
3.นางสาวนารีนาฎ ผาดไธสง ชั้น ม. 4/2เลขที่44
โครงงานศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา


เรื่อง "ต่ำเสื่อ...ทอสาด"


ครูผู้สอน ครูศิริพร วีระชัยรัตนา
รหัสวิชา ง.40202
ชื่อวิชาการนำเสนองานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
โรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคม
อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

สมาชิกในกลุ่ม
1.นางสาวจุรีรัตน์ เศรษฐี ชั้น ม. 4/2 เลขที่ 23
2.นางสาวรัชนีกร ทองภูบาล ชั้น ม.4/2 เลขที่29
3.นางสาวนารีนาฎ ผาดไธสง ชั้น ม. 4/2เลขที่44